ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' กรรดิก, กรรดึก '

    กรรดิก, กรรดึก  หมายถึง [กัน-] (แบบ) น. เดือน ๑๒. (ดู กัตติกมาส).

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • กรรตุ, กรรตุ-

    [กัด, กัดตุ-] (ไว) น. ผู้ทํา. (ป. กตฺตุ; ส. กรฺตฺฤ).

  • กรรตุการก

    [กัดตุ-] (ไว) น. ผู้ทําหรือผู้ใช้ให้ทำ เป็นส่วนสําคัญส่วนหนึ่งใน๒ ส่วนของประโยคที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ เช่น เด็กวิ่ง วิ่ง เป็นกรรตุการก หรือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตํารวจยิงผู้ร้าย ตํารวจ เป็น กรรตุการก.(ป., ส. การก ว่า ผู้ทำ).

  • กรรตุวาจก

    [กัดตุ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรตุการกคือผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ, เช่น กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทําหน้าที่เป็นกรรตุการกคือเป็นผู้ทําหรือผู้ใช้ให้ทํา เช่น ครูเขียนหนังสือ (ประธานเป็นผู้ทํา) ครูให้นักเรียนเขียนหนังสือ (ประธานเป็นผู้ใช้ให้ทํา).(ป., ส. วาจก ว่า ผู้กล่าว).

  • กรรตุสัญญา

    [กัดตุ-] น. นามที่เป็นคําร้องเรียกชื่อลอย ๆ เช่น แล้วกล่าววาจาอันสุนทร ดูก่อนกุมภกรรณยักษี. (รามเกียรติ์ ร. ๑). (ป. สญฺ?า = นาม,ชื่อ).

  • กรรไตร

    [กันไตฺร] น. ตะไกร. (ข. กนฺไตฺร; ส. กรฺตริ).

  • กรรทบ

    [กัน-] (กลอน) ก. กระทบ เช่น ฟองฟัดซัดดล กรรทบนาวี.(สรรพสิทธิ์).

  • กรรแทก

    [กัน-] ก. กระแทก, เขียนเป็น กันแทก ก็มี เช่น หัวล้านชาวไร่ไล่ปามเข้าขวิดติดตาม กันแทกก็หัวไถดินฯ. (สมุทรโฆษ).

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒